งานออกแบบทางกราฟฟิก
การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออกแบบการ์ด อวยพร ฯลฯ
งานทางด้านการ์ตูน
ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้ดี
เครื่องมือและตัวเลือก (Option) ต่างๆ ใน Toolbar
เครื่องมือและคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม Illustrator ( ต่อ )
Selection tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยเรื่องการเลือกวัตถุ ประกอบไปด้วย |
| Selection tool(ลูกศรสีดำ)ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น |
| Direct-selection tool(ลูกศรสีขาว)ใช้เลือก points หรือ path ของวัตถุ (กดคีย์ Alt) |
| Magic wand tool(ไม้เท้าวิเศษ)เป็นเครื่องมือใหม่ ใช้เลือกวัตถุที่มีสีเดียวกัน การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Alt และ Shift) |
| Lasso tool ใช้เลือกโดยการคลิกเมาส์ Drag การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Alt และ Shift) |
Create tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยการสร้าง objects ไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปทรงต่างๆ และตัวหนังสือ |
| Pen tool สร้างเส้น parthอย่างแม่นยำ โดยการใช้แขน มีผลทำให้ object มีจุดน้อย-น้อยมาก ส่วนเครื่องมือย่อยจะเอาไว้ใช้ปรับแต่ง curved
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุด ลบจุด หักแขนของแกนเส้นสัมผัส (กดคีย์ Alt) |
| Type tool ใช้พิมตัวหนังสือ ข้อความต่างๆ ส่วนเครื่องมือย่อย ก็ง่ายๆตามรูป ใช้พิมพ์ตัวหนังสือให้อยู่ในกรอบบ้าง ทำตัวอักษรวิ่งตาม paths บ้าง
ซึ่งผมจะไม่อธิบายมากเพราะ ไอคอนก็ง่ายต่อการจดจำอยู่แล้ว |
| Line segment tool อันนี้ไว้ลากเส้นตรง ในรายละเอียดของเครื่องมือย่อยก็ไม่มีอะไรมาก เช่นไว้ทำขดก้นหอย ทำ grid ของตารางหมากรุก grid แบบใยแมงมุม
|
| Basic shape tool เอาไว้วาดรูปทรงพื้นฐาน 3-4-หลายเหลี่ยม และวงกลม shape รูปดาว แต่ที่เด่นที่สุดคือ flare tool ใช้สร้างเอฟเฟค lens-flare (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
| Paintbrush tool แปรงที่เอาไว้สร้างเส้น parth โดยการ drag เมาส์ลากอย่างอิสสระ สามารถใช้ brush แบบพิเศษ (กดคีย์ Alt) |
| Pencil tool จะคล้ายๆ paintbrush tool แต่จะมีเครื่องมือย่อยให้เรียกใช้ในการแก้ไขเส้น ซึ่งจะช่วยในการปรับแต่งแก้ไข
และทำให้งานดูดี+เร็วขึ้น(กดคีย์ Alt) |
Transform tool เครื่องมือกลุ่มนี้ใช้ในการปรับแต่งรูปทรงของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นหมุน เอียง บิด กลับด้าน ย่อ ขยาย นอกจากนี้ยังมีเอฟเฟคต่างๆด้วย |
| Rotate tool ใช้ในการหมุนวัตถุ โดยการกำหนดจุดหมุนก่อนแล้วจึงทำการหมุน ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการหมุนกี่องศา (กดคีย์ Alt) |
| Reflect tool ใช้ในการกลับด้านของวัตถุ (กดคีย์ Alt) |
| Twist tool ใช้ในการบิดวัตถุ โดยการกำหนดจุดก่อนแล้วจึงทำการบิด ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการบิดมากน้อย (กดคีย์ Alt) |
| Scale tool ปลับย่อขยายวัตถุ (กดคีย์ Alt และ Shift) |
| Shear tool ใช้เอียงวัตถุ (กดคีย์ Alt) |
| Reshape tool ใช้เพิ่มจุด และดึงยืดวัตถุ |
| The warp tool ใช้โน้มวัตถุให้บิดเบี้ยว (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
|
| Twirl tool ทำให้วัตถุบิดตามจุดที่กำหนด (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
| Pucker tool ดึงดูดจุดให้เข้าสู่จุดศูนย์กลาง (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
| Bloat tool ทำให้วัตถุแบออก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
| Scallop tool ดึงวัตถุให้เข้าศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
| Crystallize tool ขยายวัตถุให้ออกจากศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
| Wrinkle tool สร้างคลื่นให้วัตถุ (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
| Free transform tool ย่อ ขยาย หมุน เอียง วตถุ โดยอิสระ |
Special tool เป็นเครื่องมือใหม่ที่จัดการเกี่ยวกะ Symbol และ graph |
| Symbol tool ใช้จัดการเกี่ยวกับ symbol ซึ่งมีเครื่องมือย่อยมากมาย แต่จะไม่ขอกล่าวถึง เพราะเครื่องมือแต่ละชิ้นมีไอคอนที่ง่ายต่อ
การเข้าใจอยู่แล้ว ขอให้ทดลองนำไปใช้เอง แล้วจะเข้าใจว่า tool แต่ละชิ้นใช้ทำอะไรได้บ้าง (กดคีย์ Alt) |
| Graph tool ใช้สร้าง graph ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ และจะไม่ขอกล่าวถึงเช่นกัน (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) |
|
|
Paint color tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องของสี |
| Mesh tool เป็นเครื่องมือสีที่เจ๋งสุดขีด(แต่ควบคุมยากเหมือนกัน)โดยการสร้าง point และมีแกนในการควบคุม (กดคีย์ Alt และ Shift) |
| Gradient tool เครื่องมือไล่ระดับสี ซึ่งมีการไล่ระดับอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ Linear และ Radial ใช้การลากจากจุดเริ่มต้น และ สิ้นสุดที่จุดปล่อยเมาส์ ในการควบคุมการไล่ระดับของสี (กดคีย์ Shift) |
| Eyedropper tool หลอดดูดสี ใช้ copy สีของวัตถุ สามารกำหนดได้ด้วยว่าจะ copy ลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง (กดคีย์ Alt และ Alt+Shift) |
| Paint bucket tool ส่วนใหญ่จะใช้ควบคู่กับ eyedropper tool ใดยใช้เทสีลงบนวัตถุ (กดคีย์ Alt) |
| Measure tool เครื่องมือวัดขนาด (กดคีย์ Shift) |
| Blend tool เครื่องมือไล่ระดับการเปลี่ยนรูปร่างและสี สามารถควบคุมการไล่ระดับได้ 3 ชนิด |
| Auto trace tool ใช้ในการ trace จากภาพต้นฉบับที่เป็น bitmap ไปเป็น Vector ซึ่งเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับคนขี้เกียจโดยเฉพาะ |
View tool กลุ่มเครื่องมือกลุ่มนี้จะเน้นที่มุมมองเป็นหลัก |
| Slice tool ใช้เกี่ยวกับการตัดแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ ใช้ในงานเวบ |
| Scissors tool ใช้คลิกบริเวณ outine ของวัตถุเพื่อกำหนดจุดตัด 2 จุดเพื่อแยกวัตถุออกจากกัน (กดคีย์ Alt) |
| Knife tool ใช้ drag ลากผ่านวัตถุเพื่อแยกวัตถุออกจากกันเป็น 2 ส่วน โดยจะทำการ close paths ให้เราโดยอัตโนมัติ (กดคีย์ Alt) |
| Hand tool ใช้เลื่อนดูบริเวณพื้นที่การทำงานบนหน้าจอ (กดคีย์ Spacebar) |
| Page tool ใช้กำหนด print size |
| Zoom tool ใช้ย่อ และ ขยายพื้นที่การทำงาน (กดคีย์ Ctrl+Spacebar และ Ctrl+Alt+Spacebar)
Palette เป็นที่รวบรวมคุณสมบัติการทำงานของเครื่องมือต่างๆ สามารถเรียกใช้งานได้ที่เมนู Window ซึ่งพาเลทที่เราใช้งานกันบ่อยๆมีดังนี้ |
|
1.Navigator Palette กำหนดมุมมองของรูปในแบบต่างๆ สามารถย่อขยายรูปได้ โดยเลื่อนแถบด้านล่าง
2.Layers Palette เป็นศูนย์รวมทั้งหมดของเลเยอร์ที่มีอยู่ในภาพ โดยเรียงลำดับจากเลเยอร์ที่อยู่บนสุดจนถึงเลเยอร์ที่อยู่ล่างสุด ซึ่งถ้าเรากดตรง จะเป็นการเพิ่มเลเยอร์ใหม่ขึ้นมา นอกจากนี้เรายังสามารถล็อค
เลเยอร์ได้ เพื่อไม่ให้เคลื่อนย้าย หรือแก้ไข โดยกดตรงพื้นที่ว่างๆตรงหน้าเลเยอร์นั้นๆ แล้วถ้าเราคลิกตรงลูกตาออก เราก้อจะมองไม่เห็นเลเยอรฺนั้น ทำให้สะดวกในการทำงานในเลเยอร์อื่น ๆได้ และถ้าเราไม่ต้องการเลเยอร์ไหน ก้อลากเลเยอร์นั้นมาปล่อยที่ถังขยะได้เลย
นอกจากนี้ ถ้าเราดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ จะเป็นการตั้งเลเยอร์ รวมทั้งเปลี่ยนสีประจำเลเยอร์นั้น ๆได้
3. Color Palette ใช้สำหรับการเลือกสีผสมสีเอง
4.Swatches Palette เป็นสีสำเร็จรูปที่ใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผสมเอง
( เรื่องการใช้สี และการลงสีอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เครื่องมือและวิธีการลงสี )
5.Stroke Palette เป็นพาเลทเกี่ยวกับการใช้เส้น และปรับขนาดของเส้น
ในบทนี้เราจะดูกันในภาพรวมของการใช้งาน Illustrator แบบคร่าวๆโดยอ้างจากส่วนประกอบต่างๆบนหน้าจอเมื่อเปิด โปรแกรมขึ้นมา และทำความคุ้นเคยกับแถบคำสั่งต่างที่มีปรากฎในหน้าแรกของโปรแกรม
ตอนที่ 1 เข้าสู่โปรแกรม
1. Click mouse ที่ปุ่ม start ที่เมนูบาร์
2. เลื่อนเม้าส์เลือกคำสั่ง Programs> Adobe> Adobe Illustrator
3. จะปรากฎหน้าจอแรกของโปรแกรม Illustrator
หมวด | คำอธิบาย |
file | เป็นคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับไฟล์ เช่น การเปิดไฟล์ ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์และการออกจากโปรแกรม เป็นต้น |
edit | เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการปรับแต่งต่างๆ เช่น การย้อนกลับการทำงาน การตัด การทำสำเนาหรือคัดลอก การวาง หรือรูปแบบ การเลือก รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติต่างๆที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพด้วย เช่น การสร้างรูปแบบ หรือการกำหนดค่าสี เป็นต้น |
object | เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำงานกับออบเจ็กต์ทั้งหมด เช่น คำสั่งในการจัดกลุ่ม การจัดลำดับ หรือการปรับแต่ง เป็นต้น |
type | เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำงานกับตัวอักษร เช่น การเลือกฟอนต์ ขนาดและลักษณะตัวอักษร เป็นต้น |
filter | การตกแต่งชิ้นงานด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ เช่น การกำหนดความขรุขระ การกำหนดรอยหยัก หรือการหมุนชิ้นงาน เป็นต้น |
file | เป็นคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับไฟล์ เช่น การเปิดไฟล์ ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์และการออกจากโปรแกรม เป็นต้น |
effect | เป็นการกำหนดเทคนิคพิเศษในการตกแต่งชิ้นงาน จะคล้ายกับเมนู filter แต่เมนู effect สามารถที่จะแก้ไขค่าในการตกแต่งได้ |
view | รวบรวมคำสั่งในการกำหนดมุมมองของการทำงาน เช่น การแสดงหรือซ่อนเส้นไม้บรรทัด หรือการขยายชิ้นงาน เป็นต้น |
window | เป็นเมนูทีรวบรวมคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหน้าต่างแต่ละหน้าต่าง ที่ปรากฎบนจอรวมถึงหน้าต่าง Palette,Toolbox ด้วย เช่น คำสั่งแสดง หรือ คำสั่งซ่อน เป็นต้น |
help | รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับโปรแกรม Illustrator |
การบันทึกไฟล์ (Save)
เช่นเดียวกับโปรแกรมโดยทั่วไป หลังจากที่เราสร้างชิ้นงานเสร็จแล้ว จะมีการเก็บบันทึกไฟล์
นั้นไว้เพื่อเรียกใช้ในครั้งต่อไป ในโปรแกรม Illustrator ก็มีการบันทึกตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เลือกคำสั่ง File ที่เมนูบาร์และเลือกรูปแบบการบันทึกไฟล์ดังต่อไปนี้ คือ
File>Save | เป็นการบันทึกงานในรูปแบบปกติ โดยโปรแกรมจะบันทึก
งานที่แก้ไขใหม่ในชื่อเดิม ตำแหน่งเดิมหรือบันทึกไฟล์ที่
ยังไม่เคยมีการบันทึกมาก่อน |
File>Save As | เป็นการบันทึกงานเดิมเป็นชื่อใหม่ ตำแหน่งใหม่ และให้อยู่ในรูปของ Format ใหม่ได้ |
File>Save for Web | เป็นการบันทึกไฟล์เพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสำหรับการใช้งาน
บนเว็บ |
2. Click mouse เพื่อกำหนดตำแหน่งของไฟล์ที่ต้องการเก็บ
3. ตั้งชื่อไฟล์
4. Click mouse เลือก Format ของไฟล์
5. Click mouse ที่ปุ่ม Save
6. ที่หน้าจอ Illustrator Native Format Options ให้กำหนดรายละเอียดดังนี้
Compatibility : เลือกเวอร์ชั่นที่ต้องการบันทึก
Option : มีให้เลือก 2 รูปแบบคือ Embed All Fonts และ Subset fonts when less than of characters are used
7. Click mouse ที่ปุ่ม OK
การสร้างหน้างานใหม่ เริ่มต้นการทำงานด้วยการเปิดเอกสารใหม่ขี้นมาด้วยคำสั่ง New มีขั้นตอนดังนี้
1.ไปที่เมนูหลัก (Menu Bar) จากนั้นไปที่ File > New.. จะมีหน้าต่างขึ้นมาดังรูป
เมื่อต้องการเปิดไฟล์งานใหม่ ผู้ใช้งานสามารถเปิดได้ด้วยการเลือกคำสั่ง File > New… จาก Menu Bar หรือกดปุ่มคีย์ลัด Ctrl + N บนคีย์บอร์ด
การสร้างหน้างานใหม่ในโปรแกรม Illustrator นั้น กำหนดแต่เพียงขนาดและรูปแบบมุมมองของหน้างานเท่านั้น เนื่องจากโปรแกรมนี้ จะสร้างภาพกราฟิกประเภท Vector ซึ้งสามารถแก้ไขโดยที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับชิ้นงาน
รายละเอียดมีดังนี้
1. Name สำหรับกำหนดชื่อให้กับชิ้นงานของเรา
2. Artboard setup กำหนดค่ามาตราฐานให้กับชิ้นงานของเรา มีรายละเอียดดังนี้
2.1 Size กำหนดขนาดของชิ้นงานตามขนาดของกระดาษ เช่น ให้มีขนาดเท่ากับ A4 , A3 หรือ
กำหนดเป็นขนาดหน้าจอ เช่น 800 x 600Pixels
2.2 Unit กำหนดหน่วยที่ใช้ในชิ้นงาน เช่น Centimeters (เซนติเมตร) , Pixels
2.3 Width/Height กำหนดความกว้าง และความสูงของชิ้นงาน
2.4 Orientation กำหนดชิ้นงานให้วางแนวตั้งหรือแนวนอน
3. Color Mode ใช้กำหนดโหมดสี ประกอบด้วยโหมดสี 2 ชนิดได้แก่
3.1 CMYK Color เป็นโหมดสำหรับทำงานสิ่งพิมพ์ (จะให้สีใกล้เคียงกับภาพที่ปริ้นออกมา สีจะค่อน
ข้างทึม)
3.2 RGB Color เป็นโหมดสำหรับทำงานที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (จะให้สีสด)
การเลือกโหมดของสีนั้นสำคัญมาก ผู้ใช้งานควรเลือกโหมดสีให้ตรงกับงานที่ต้องการใช้ เช่นถ้าเป็นงานสิ่งพิมพ์ก็ควรเลือก CMYK เพื่อให้ได้สีที่แสดงบนหน้าจอทำงานตรงกับสี่ที่ปริ้นเนื้องานออกมา ถ้าเลือกเป็น RGB ภาพที่แสดงบนหน้าจอกับภาพที่ปริ้นออกมาจะแตกต่างกันมาก
10 เหตุผลที่หลงรัก illustrator
ต้องขอบอกก่อนว่า .AI ในที่นี่หมายถึงไฟล์นามสกุล .ai หรือสกุลไฟล์ของโปรแกรม illustrator นั่นเอง หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าไฟล์ Graphic นั้นมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ไฟล์ประเภท Bitmap และ Vector
ไฟล์ Bitmap เป็นไฟล์ที่เกิดจากจุดเล็กๆของ pixels หลายๆจุดรวมตัวกันเป็นภาพหนึ่งภาพ ความคมชัดของภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวน pixels แต่ถ้าหากลองขยายภาพดูเยอะๆจะทำให้ภาพไม่คมชัดจะเห็นเป็นจุดสี่เหลี่ยมหลายๆจุดเรียงกันนั่นเอง
ไฟล์ Vector เป็นไฟล์ภาพที่เกิดจากการสร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นในลักษณะต่างๆ ซึ่งเส้นเหล่านี้เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ คือจุดๆของเส้นโค้งและเส้นตรงหลายๆจุดเป็นลักษณะของภาพโครงร่าง ( Outline ) เมื่อมีการแก้ไขภาพก็จะเป็นการแก้ไขของเส้นทำให้ไม่เสียความคมชัดของภาพไปเมื่อมีการขยาย
(นี่แหล่ะคือความโดดเด่นที่ไม่มีใครเหมือนของ illustrator)
มาดูเหตุผลที่ทำให้ผมหลงรักโปรแกรม illustrator กันครับ
1. ภาพคมชัดไม่ว่าคุณจะขยายสักเท่าใดก็ตาม
2. มันสามารถไล่โทนสีได้สมจริงที่สุดโปรแกรมหนึ่ง (Photoshop ชิดซ้าย)
3. โปรแกรมกินทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยมาก (เครื่องสเป็กไม่สูงมากก็สามารถใช้เจ้า
illustrator ได้)
4. ขนาดของไฟล์ .ai มีขนาดเล็กมากๆ สะดวกต่อการโอนถ่ายต่างๆ (อันนี้เจ๋งจริงๆ)
5. โปรแกรมถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย
6. เป็นสุดยอดโปรแกรมที่ครองตลาดกราฟฟิคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (เชื่อเหอะหากคุณได้รับ job ลูกค้า
จะต้องขอให้คุณทำออกมาเป็นไฟล์ .ai แน่นอน)
7. โปรแกรมถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นกับการนำไปใช้กับโปรแกรมอื่นๆ (ไมว่าจะเป็น Flash
Photoshop Acrobat และอื่นๆ ในตระกูล Adobe)
8. มันสามารถเซฟไฟล์ออกมาได้หลาย format สะดวกต่อการนำไปใช้อย่างยิ่ง (.gif .Tiff .Pdf .Jpeg
9. มันทำให้คุณสามารถสร้างงานชิ้นนึงออกมาได้อย่างรวดเร็ว (หากคุณถึงขั้นเซียนแล้วรับรองว่า
คุณจะเป็นที่รักของเจ้านายอย่างแน่นอน)
10. อื่นๆ อีกเยอะแยะมากมายที่ผมคิดไม่ออก และนั่นเป็นเหตุผลที่เด่นๆที่ผมพอจะนึกออก ที่ทำให้เจ้า
โปรแกรมตัวนี้ครองใจผมมานานช้านาน หากคุณมีเหตุผลที่แตกต่างจากนี้กรุณาแบ่งปันความรู้สึกที่มีต่อเจ้า illustrator ตัวนี้กัน…แล้วคุณจะหลงรักมัน